messager
 
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหว้า call ข้อมูลการติดต่อ

องค์การบริหารส่วนตำบล
หนองหว้า
อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหว้า อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู
check_circle ข้อมูลหน่วยงาน
สภาพและข้อมูลพื้นฐาน
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประวัติความเป็นมา ตำบลหนองหว้า เป็นตำบลที่แยกเขตการปกครองออกจากตำบลโนนขมิ้น เมื่อ พ.ศ. 2532สาเหตุที่ได้ชื่อว่าตำบลหนองหว้า เนื่องจากมีต้นหว้าใหญ่เกิดขึ้นกลางหนองน้ำในเขตพื้นที่บ้านหนองหว้า และ ประกาศจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหว้า ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2540 มีประธานกรรมการบริหารคนแรก ชื่อ นายบัวลี ไกรจันดา ผู้บริหารตำบลหนองหว้า เริ่มจากจัดตั้งเป็นสภาตำบลตำบลหนองหว้า จนจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหว้า จนถึงปัจจุบัน คนที่ 1 นายบัวลี ไกรจันดา คนที่ 2 นายหนูกัน แสนภักดี คนที่ 3 นายบุญธง วารินทร์ คนที่ 4 นายจำรูญ จันทิภักดิ์ คนที่ 5 นายสุขชัย ยะรี เลือกตั้งโดยตรง คนที่ 6 นายบัวลี ไกรจันดา เลือกตั้งโดยตรง คนที่ 7 นายวิรัตน์ สุวอ เลือกตั้งโดยตรง ปัจจุบันตำบลหนองหว้าที่ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมือง ประกอบด้วย 7 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านหนองหว้าใหญ่ หมู่ 2 บ้านโนนสง่า หมู่ 3 บ้านห้วยเตย หมู่ 4 บ้านโคกสวรรค์ หมู่ 5 บ้านเพ็กเฟื้อย หมู่ 6 บ้านหนองผำ หมู่ 7 บ้านหนองหว้าน้อย 1.1 ที่ตั้ง ตำบลหนองหว้า อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของจังหวัดหนองบัวลำภู ระหว่างเส้นรุ้งที่ 17010 ถึง 17098 เหนือ และเส้นแวงที่ 102025 ถึง 102023 ทิศตะวันตกห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองหนองบัวลำภู 13 กิโลเมตร 1.2 เนื้อที่ มีเนื้อที่ประมาณ 57.60 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 36,000 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อดังนี้ -ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลโพธิ์ชัย ตำบลหนองสวรรค์ อำเภอเมือง -ทิศใต้ ติดต่อ ตำบลบ้านพร้าว อำเภอเมือง -ทิศตะวันออก ติดต่อ ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง -ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลโนนขมิ้น อำเภอเมือง และตำบลหนองแก อำเภอศรีบุญเรือง 1.3 ภูมิประเทศ – สภาพโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นที่ราบลูกฟูกและที่ราบ แนวยาวทิศเหนือมายังทิศตะวันตกอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 210 – 240 เมตร – ลำน้ำที่สำคัญ เช่น ลำพะเนียง ,ลำห้วยยาง – มีป่าสงวนแห่งชาติ 2 แห่ง ได้แก่ ที่บ้านโนนสง่า และที่บ้านเพ็กเฟื้อย 1.4 จำนวนหมู่บ้าน 7 หมู่บ้าน – หมู่ที่ 1 บ้านหนองหว้าใหญ่ – หมู่ที่ 2 บ้านโนนสง่า – หมู่ที่ 3 บ้านห้วยเตย – หมู่ที่ 4 บ้านโคกสวรรค์ – หมู่ที่ 5 บ้านเพ็กเฟื้อย – หมู่ที่ 6 บ้านหนองผำ – หมู่ที่ 7 บ้านหนองหว้าน้อย 1.5 ท้องถิ่นอื่นในตำบล – จำนวนเทศบาล – แห่ง – จำนวนสุขาภิบาล – แห่ง 1.6 ประชากร – ประชากรทั้งสิ้น 4,915 คน แยกเป็น ชาย 2,514 คน หญิง 2,401 คน จำนวนครัวเรือน 1,289 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ 30 กันยายน 2561) 2.สภาพทางเศรษฐกิจ 2.1 อาชีพ – การเกษตร เช่น ทำนา ทำไร่ สวน การเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น – การบริการและการพาณิชย์ เช่น การค้าขาย ปั้มน้ำมัน ร้านซ่อมรถยนต์ เป็นต้น – ผู้ใช้แรงงานในต่างประเทศ – รับราชการ 2.2 หน่วยธุรกิจในเขต อบต. – ศูนย์ธุรกิจชุมชน 1 แห่ง – ปั้มน้ำมัน 3 แห่ง – โรงสี 14 แห่ง – ร้านขายวัสดุก่อสร้าง 3 แห่ง – ร้านค้าขายปลีก 34 แห่ง – ร้านเสริมสวย 4 แห่ง – คลินิก 2 แห่ง – ร้านกระจกอลูมิเนียม 1 แห่ง – ร้านขายหีบศพ 1 แห่ง 3.สภาพทางสังคม 3.1 การศึกษา – โรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่ง – ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง – ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน – แห่ง 3.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา – วัดสำนักสงฆ์ 4 แห่ง – วัดป่า 2 แห่ง 3.3 ด้านสาธารณสุข – โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 1 แห่ง – สถานพยาบาลเอกชน – แห่ง – ร้านขายยาแผนปัจจุบัน – แห่ง – อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำร้อยละ 100 เปอร์เซ็นต์ 3.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน – สถานีตำรวจ – แห่ง – สถานีดับเพลิง 1 แห่ง 4 การบริหารการพื้นฐาน 4.1 การคมนาคม ถนนลาดยางระหว่างอำเภอเมืองและจังหวัด ประมาณ 13 กิโลเมตร แยกเป็น – เส้นทางบ้านหนองหว้าน้อย – บ้านลำภู (ตำบลตำแย) – เส้นทางบ้านโนนสง่า – บ้านสุขเกษม (ตำบลหนองบัว) ถนนลูกรังเชื่อมหมู่บ้านและระหว่างตำบล ประมาณ 20 กิโลเมตร ถนน คสล. ภายในหมู่บ้านจำนวน 7 หมู่ ประมาณ 5.60 กิโลเมตร 4.2 การโทรคมนาคม – ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข – แห่ง – โทรศัพท์สาธารณะ – แห่ง – วิทยุสื่อสาร 28 เครื่อง 4.3 การไฟฟ้า – ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้า 1,280 ครัวเรือน – ครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าสาธารณะ – ครัวเรือน – ไฟฟ้าแสงสว่าง 163 แห่ง 4.4 แหล่งน้ำธรรมชาติ – ลำพะเนียง 1 สาย – ลำห้วยโปร่งนกเป้า 1 สาย – ลำห้วยโสกปลาดุก 1 สาย – ลำห้วยหนองกุดกุ้ง 1 สาย – ลำห้วยฝาบาตร 1 สาย – ลำห้วยฮ่องข่า 1 สาย – ลำห้วยลำพะเนียงหลง 1 สาย – หนองสาธารณะ 5 แห่ง •แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น – ฝาย 4 แห่ง – บ่อน้ำตื้น 5 แห่ง – บ่อโยก – แห่ง – ประปาหมู่บ้าน 10 แห่ง 5.ข้อมูลอื่น ๆ 5.1 ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ป่าไม้เหลือประมาณ 30 % ของพื้นที่ 1.ป่าโสกไม้ตายสาธารณประโยชน์ เนื้อที่ 28 ไร่ 6.4 วา 2.โคกเฒ่าทอกสาธารณประโยชน์ เนื้อที่ 75 ไร่ 2 งาน 26 วา 3.โคกหนองแฝกสาธารณประโยชน์ เนื้อที่ 44 ไร่ 2 งาน 14 วา 4.หนองหินสาธารณประโยชน์ เนื้อที่ 20 ไร่ 1 งาน 01 วา 5.โคกป่าน้อยสาธารณประโยชน์ เนื้อที่ 01 ไร่ 3 งาน 93 วา 6.โคกหนองข่ารีสาธารณประโยชน์ เนื้อที่ 83 ไร่ 3 งาน 62 วา 7.โคกหนองใหม่สาธารณประโยชน์ เนื้อที่ 86 ไร่ 2 งาน 50 วา 8.โคกหนองข่าสาธารณประโยชน์ เนื้อที่ 83 ไร่ 0 งาน 29 วา 9.ป่าโคกหนองบก เนื้อที่ 120 ไร่ 0 งาน 75.7 วา 10.ป่าโคกทับช้างสาธารณประโยชน์ เนื้อที่ 103 ไร่ 0 งาน 88 วา 11.หนองผือ เนื้อที่ 119 ไร่ 1 งาน 7 วา 5.2 มวลชนที่จัดตั้ง – อสม. 79 คน – อปพร. 166 คน – กลุ่มสตรี 7 หมู่บ้าน 70 คน – กลุ่มชมรมคนพิการ 170 คน – กลุ่มกองทุนสวัสดิการ 630 คน 6.ศักยภาพในตำบล ก. ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล 1.จำนวนบุคลากร 1.1. ข้าราชการท้องถิ่น 11 คน – ตำแหน่งในสังกัดปลัดอบต. 7 คน – ตำแหน่งในส่วนการคลัง 2 คน – ตำแหน่งในส่วนโยธา 2 คน – ตำแหน่งในสาธารณสุข – คน 1.2.พนักงานภารกิจและลูกจ้างทั่วไป 22 คน (2) ระดับการศึกษาของบุคลากร – ประถมศึกษา – คน – มัธยมศึกษา/อาชีวศึกษา 20 คน – ปริญญาตรี 7 คน – สูงกว่าปริญญาตรี 6 คน (3) รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล -ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2561 จำนวน 30,850,000 บาท ข.ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่ (1) การรวบรวมกลุ่มของประชากร(กลุ่มอาชีพ) – กลุ่มอาชีพหมุนเวียน 23 กลุ่ม (2) จุดเด่นของพื้นที่ (ที่เอื้อต่อการพัฒนาตำบล) 2.1 ด้านเกษตรกรรม – มีพื้นที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง – เกษตรมีความคุ้นเคยและชำนาญในการเพาะปลูกและปศุสัตว์ – การปลูกไม้ยืนต้น – การแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร – การเพาะเห็ด – การปลูกข้าวโพด 2.2 ด้านการท่องเที่ยว – ปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน เช่น บริเวณศูนย์ปฏิบัติธรรมหนองน้ำเพชรมงคล 2.3 ด้านพาณิชย์กรรมและการบริการ – ธุรกิจปั้มน้ำมัน – ธุรกิจร้านค้าปลีก – ธุรกิจร้านวัสดุก่อสร้าง – ร้านเสริมสวย – ร้านอาหารตามสั่ง – ร้านซ่อมรถยนต์,จักรยานยนต์ – ร้านขายหีบศพ – ร้านกระจกอลูมิเนียม